ช่วงราชอาณาจักรใหม่ (ราว 1550-1077 ปีก่อนคริสตกาล) ของ รายพระนามฟาโรห์

ช่วงราชอาณาจักรใหม่ (ตั้งแต่ 1550-1077 ปีก่อนคริสตกาล) คือช่วงที่ครอบคลุมราชวงศ์ที่สิบแปด, สิบเก้าและยี่สิบแห่งอียิปต์ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 11 ระหว่างช่วงระหว่างกลางครั้งที่สองและช่วงระหว่างกลางครั้งที่สาม

เมื่อผ่านการครอบงำทางทหารในต่างชาติ ราชอาณาจักรใหม่มีอาณาเขตที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของอียิปต์ มันขยายตัวไกลเข้าไปในนิวเบียและในภาคใต้และจัดพื้นที่กว้างในตะวันออกใกล้ กองทัพอียิปต์ต่อสู้กับกองทัพฮิตไทต์เพื่อควบคุมซีเรีย

สามฟาโรห์ที่รู้จักกันดีที่สุดของราชอาณาจักรใหม่คือ อาเคนาเทนหรือที่รู้จักกันในชื่อว่า อเมนโฮเทปที่ 4 ซึ่งทรงนับถือเทพอาเตน ทุตอังค์อามุน ผู้ที่มีอุโมงค์ฝังศพเกือบสมบูรณ์และเต็มไปด้วยและ แรเมซีสที่ 2 พยายามที่จะกู้ดินแดนในปัจจุบันอิสราเอล/ปาเลสไตน์ เลบานอนและซีเรียที่ได้รับการจัดขึ้นในสมัยราชวงศ์สิบแปด และทรงรบชนะพวกฮิตไทต์

ราชวงศ์ที่สิบแปด

ราชวงศ์ที่สิบแปดปกครองระหว่าง 1550 ถึง 1292 ปีก่อนคริสตกาล

เมืองหลวงอยู่ที่ ธีบส์ ดูบทความหลักใน ราชวงศ์ที่สิบแปดแห่งอียิปต์

พระนามรูปภาพข้อคิดเห็นรัชกาล
เนปเพติเร อาโมสที่ 1พระอนุชาและเป็นผู้สืบทอดบัลลังก์จากฟาโรห์คาโมส, สามารถเอาชนะและชับไล่ชาวฮิกซอสออกจากอียิปต์1550–1525 ปีก่อนคริสตกาล[31]
ดเจเซอร์คาเร อเมนโฮเทปที่ 1พระราชโอรสของฟาโรห์อาโมสที่หนึ่ง1541–1520 ปีก่อนคริสตกาล
อาอังค์เคปเปอร์เร ทุตโมสที่ 1ไม่ทราบว่าใครเป็นพระบิดา, อาจจะเป็นฟาโรห์อเมนโฮเทปที่หนึ่ง. พระราชมารดาของพระองค์นามว่า เซนเซเนบ มีการขยายอาณาเขตของอียิปต์ในช่วงรัชสมัยของพระองค์1520–1492 ปีก่อนคริสตกาล
อาอังค์เคปเปอร์เรนเร ทุตโมสที่ 2พระราชโอรสของฟาโรห์ทุตโมสที่หนึ่ง. พระราชนัดดาของฟาโรห์อเมนโฮเตปที่หนึ่ง พระราชมารดาพระนามว่า มุทโนเฟรต.1492–1479 ปีก่อนคริสตกาล
มาอัตคาเร แฮตเชปซุตฟาโรห์หญิงองค์ที่สามแห่งอาณาจักรอียิปต์โบราณ1479–1458 ปีก่อนคริสตกาล
เมนเคปเปอร์เร ทุตโมสที่ 3พระราชโอรสของฟาโรห์ทุตโมสที่สอง กับพระนางไอซิส พระสนมของทุตโมซิสที่สอง1458–1425 ปีก่อนคริสตกาล
อาอังค์เคเปอร์รูเร อเมนโฮเทปที่ 2พระราชโอรสของฟาโรห์ทุตโมสที่สาม. อำนาจของอียิปต์ได้ถึงขีดสูงในรัชสมัยของพระองค์1425–1400 ปีก่อนคริสตกาล
เมนเคเปอร์รูเร ทุตโมสที่ 4พระราชโอรสของฟาโรห์อเมนโฮเตปที่สอง. อำนาจของอียิปต์ได้ถึงขีดสูงในรัชสมัยของพระองค์1400–1390 ปีก่อนคริสตกาล
เนบมาอัตเร อเมนโฮเทปที่ 3พระราชบิดาของฟาโรห์อเคนาเตน และเป็นพระอัยกาของฟาโรห์ตุตันคามุน1390–1352 ปีก่อนคริสตกาล
เนเฟอร์เคเฟอร์รูเร-วาเอนเร อเมนโฮเทปที่ 4/อเคนาเตนฟาโรห์ที่ได้พยายามลบล้างเทพหลายองค์ให้นับถือเทพอาเต็นเท่านั้น และได้ย้ายเมืองหลวงไปที่อาร์มานา หรือ อเคตาเตน1352–1336
อังค์เคเปอร์รูเร สเมงห์คาเรฟาโรห์ปริศนาแห่งราชวงศ์ที่สิบแปด1335–1334 ปีก่อนคริสตกาล
อังค์เคเปอร์รูเร-เมริ-อังค์เคเปอร์รูเร/เนเฟอร์เนเฟรูอาเตน1334-1332 ปีก่อนคริสตกาล
เนบเคเปอร์รูเร ทุตอังค์อาเตน/ทุตอังค์อามุนพระราชโอรสของฟาโรห์อเคนาเตน ย้ายเมืองหลวงกลับมาอยู่ที่ ธีบส์1332–1324 ปีก่อนคริสตกาล
เคเปอร์เคเปอร์รูเร ไอย์ฟาโรห์เฒ่าผู้ครองราชย์สี่ปี1324–1320 ปีก่อนคริสตกาล
ดเจเซอร์เคเปอร์รูเร-เซตเพนเร โฮเรมเฮมพระองค์เริ่มมีอำนาจตั้งแต่สมัยของตุตันคาเมน1320–1292 ปีก่อนคริสตกาล

ราชวงศ์ที่สิบเก้า

ราชวงศ์ที่สิบเก้าปกครองมาตั้งแต่ 1292 ถึง 1186 ปีก่อนคริสตกาล รวมถึงมีฟาโรห์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ แรเมซีสที่ 2 มหาราช

ดูบทความหลักใน ราชวงศ์ที่สิบเก้าแห่งอียิปต์

พระนามรูปภาพความคิดเห็นรัชกาล
เมนเพห์ตี้เร แรเมซีสที่ 1พระองค์ไม่ได้เป็นเชื้อพระวงศ์ ทำให้ครองราชย์จากฟาโรห์โฮเรมเฮบ เนื่องจากขาดทายาท1292–1290 ปีก่อนคริสตกาล
เมนมาอัตเร เซติที่หนึ่งรวบรวมดินแดนที่สูญเสียใต้รัชสมัยของฟาโรห์อเคนาเทน1290–1279 ปีก่อนคริสตกาล
อูเซอร์มาอัตเร-เซตเตเพนเอ็นเร แรเมซีสที่ 2 มหาราชขยายอาณาเขตของอียิปต์ต่อไปจนกับจักรวรรดิฮิตไทต์ที่รบพุทเทย์ใน เมื่อ 1275 ปีก่อนคริสตกาลก่อนที่สนธิสัญญาสันติภาพอียิปต์ - ฮิตไทต์ ลงนามใน 1258 ปีก่อนคริสตกาล1279–1213 ปีก่อนคริสตกาล
บาเอนเร เมรี่เนทเจรู เมร์เนปทาห์[32]พระราชโอรสลำดับที่สิบสามของฟาโรห์แรเมซีสที่สอง1213–1203 ปีก่อนคริสตกาล
เมนมิเร เซตเทเพนเนเร อเมนเมสเซส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะแย่งชิงบัลลังก์ อาจจะเป็นผู้ปกครองในการต่อสู้กับเซติที่สอง โดยพระราชโอรสของฟาโรห์เมร์เนปทาห์1203–1200 ปีก่อนคริสตกาล
อูเซอร์เคปเปอร์รูเร เซทเทเพนเร เซติที่สอง[33]พระราชโอรสของฟาโรห์เมร์เนปทาห์ อาจจะต้องการบัลลังค์ของฟาโรห์อเมเนมเซ ก่อนที่พระองค์จะสามารถทำให้การอ้างสิทธิของพระองค์ขึ้นครองราชสมบัติได้1203-1197 ปีก่อนคริสตกาล
เซไคเอนเร เมรี่อามุน,อังค์เอนเร เซทเพนเร ซิพทาห์[34]อาจเป็นพระโอรสของฟาโรห์เซติที่สอง หรือ ฟาโรห์อเมเนมเซ ครองราชย์เมื่ออายุยังน้อย1197–1191 ปีก่อนคริสตกาล
ซิทเร เมรี่อามุน ทวอสเรตอาจเป็นพระมเหสีของฟาโรห์เซติที่สอง ยังเป็นที่รู้จักกันในนามว่า ทวอสเรต1191–1190 ปีก่อนคริสตกาล

ราชวงศ์ที่ยี่สิบ

ราชวงศ์ที่ยี่สิบปกครองระหว่าง 1190 ถึง 1077 ปีก่อนคริสตกาล

ดูบทความหลักใน ราชวงศ์ที่ยี่สิบแห่งอียิปต์

พระนามรูปภาพความคิดเห็นรัชกาล
เซทนัคห์เตฟาโรห์องค์แรกแห่งราชวงศ์ที่ยี่สิบ1190–1186 ปีก่อนคริสตกาล
แรเมซีสที่สามพระโอรสของเซทนัคห์เต พระองค์ถูกลอบปลงพระชนม์จนสวรรคต1186–1155 ปีก่อนคริสตกาล
แรเมซีสที่สี่พระราชโอรสของแรเมซีสที่สาม ในสมัยของพระองค์อำนาจของอียิปต์เริ่มลดลง1155–1149 ปีกอนคริสตกาล
แรเมซีสที่ห้าพระราชโอรสของฟาโรห์แรเมซีสที่สี่1149–1145 ปีก่อนคริสตกาล
แรเมซีสที่หกพระราชโอรสของฟาโรห์แรเมซีสที่สาม และเป็นพระอนุชาของฟาโรห์แรเมซีสที่สี่ และเป็นพระปิตุลาของฟาโรห์แรเมซีสที่ห้า 1145–1137 ปีก่อนคริสตกาล
แรเมซีสที่เจ็ดพระราชโอรสของฟาโรห์แรเมซีสที่หก.1137–1130 ปีก่อนคริสตกาล
แรเมซีสที่แปด1130–1129 ปีก่อนคริสตกาล
แรเมซีสที่เก้าอาจจะเป็นพระราชนัดดาของฟาโรห์แรเมซีสที่สาม1129–1111 ปีก่อนคริสตกาล
แรเมซีสที่สิบ[35]ไม่ทราบเรื่องเวลาการครองราชย์ที่แท้จริง สันนิษฐานว่าประมาณ 3-10 ปี1111–1107 ปีก่อนคริสตกาล
แรเมซีสที่สิบเอ็ด[36]อาจจะเป็นพระราชโอรสของฟาโรห์แรเมซีสที่สิบ1107–1077 ปีก่อนคริสตกาล

ใกล้เคียง

รายพระนามพระมหากษัตริย์ไทย รายพระนามพระมหากษัตริย์อังกฤษ รายพระนามฟาโรห์ รายพระนามจักรพรรดิและพระมหากษัตริย์จีน รายพระนามพระมหากษัตริย์นอร์เวย์ รายพระนามเจ้านายพระชันษายืนในราชวงศ์จักรี รายพระนามและชื่ออธิบดีกรมตำรวจและผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติของไทย รายพระนามและชื่อผู้บัญชาการทหารบกไทย รายพระนามพระมหากษัตริย์เกาหลี รายพระนามและชื่ออภิรัฐมนตรีและองคมนตรีไทย

แหล่งที่มา

WikiPedia: รายพระนามฟาโรห์ http://www.ancient-egypt.org/ http://www.ancient-egypt.org/index.html http://www.digitalegypt.ucl.ac.uk//chronology/amen... http://www.digitalegypt.ucl.ac.uk/chronology/2inte... http://www.digitalegypt.ucl.ac.uk/chronology/amene... http://www.digitalegypt.ucl.ac.uk/chronology/meren... http://www.digitalegypt.ucl.ac.uk/chronology/nakht... http://www.digitalegypt.ucl.ac.uk/chronology/ramse... http://www.digitalegypt.ucl.ac.uk/chronology/setyi... http://www.digitalegypt.ucl.ac.uk/chronology/sipta...